มก. เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ “The Transformative Leadership Workshop on Gender Equity, Diversity and Inclusivity (GEDI) in Higher Education Institutions in Southeast Asia”
ผศ. ดร. ศุภพัชร์พิมล สิมลี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และนางนีรชา กลันทะกะสุวรรณ หัวหน้างานทุนและสร้างโอกาสสู่สากล กองวิเทศสัมพันธ์ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ The Transformative Leadership Workshop on Gender Equity, Diversity and Inclusivity (GEDI) in Higher Education Institutions in Southeast Asia ระหว่างวันที่ 24-25 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมโนโวเทล สยามแสควร์ โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมทั้งหมดจากมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวน 35 คน ตัวแทนรัฐบาล 11 คนจาก 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนักวิชาการจากสหราชอาณาจักร 6 คน
ทั้งนี้โครงการ SEAMEO RIHED ด้าน GEDI Phase II นี้มุ่งเน้นดำเนินงานตามวัตถุประสงค์สำคัญคือ
1. การพัฒนากระบวนการหารือเชิงนโยบาย (Dialogue) เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหาความเท่าเทียม ความหลากหลาย และความครอบคลุมทางเพศ (Gender Equity, Diversity and Inclusivity: GEDI) ระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. การมุ่งส่งเสริมให้ผู้นำในมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสนใจ วางแผนและกำหนดนโยบายเกี่ยวกับ GEDI ในมหาวิทยาลัย
3. การร่วมกันพัฒนาฐานข้อมูลและการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของ GEDI ในมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นพื้นฐานการพัฒนาแผนปฏิบัติการเพื่อแก้
ไขปัญหาดังกล่าวในมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
4. การร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มการแลกเปลี่ยนความรู้ข้ามวัฒนธรรมระหว่างมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกี่ยวกับประเด็นทาง GEDI ในมหาวิทยาลัย
นโยบายด้าน GEDI ในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องกับประเด็นที่สำคัญได้แก่ประเด็นการเก็บข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีลักษณะแยกย่อยข้อมูลเป็นหน่วยที่เล็กลงและอยู่ในหลายๆมิติเพื่ออธิบายแนวโน้มหรือรูปแบบของประเด็นเพศภาวะ (gender disaggregated data) ในมหาวิทยาลัย เพื่อการวิเคราะห์ด้านเพศภาวะ (gender analysis) ที่มีประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยต่อไป ประเด็นการบูรณาการ GEDI ในหลักสูตรและ/หรือรายวิชาของมหาวิทยาลัย ประเด็นการวางแผนทรัพยากรบุคคลของมหาวิทยาลัยโดยคำนึงถึงประเด็นด้าน GEDI และประเด็นการต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ (anti-sexual harassment) ในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ในการประชุมดังกล่าว British Council และ SEAMEO RIHED ยังประชาสัมพันธ์ข้อมูลทุนวิจัย ซึ่งกำลังจะเปิดรับสมัครในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ชื่อทุนวิจัย SEA-UK Gender Challenge Grant แก่กลุ่มวิจัยประกอบด้วยมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เข้าร่วมโครงการ SEAMEO RIHED ด้าน GEDI Phase II และมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร จำนวน 3 ทุน เป็นทุนวิจัยระยะการดำเนินการ 6 เดือน มีจำนวนทุนสนับสนุนการวิจัยประมาณ 13000-15000 Pound Sterling ต่อ 1 กลุ่มวิจัย โดยมุ่งผลลัพธ์เป็นเอกสารรายงานผลการวิจัย เอกสารข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สารสนเทศในลักษณะของข้อมูล (infographic) เพื่อให้เข้าใจง่ายและรวดเร็ว และการนำเสนอผลการวิจัยใน Stakeholder Forum ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2568
ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์การใช้งานโปรแกรม และอบรมในวันที่ 17 ธันวาคม 2567