ร่างแผนแม่บทไอซีที ( พ.ศ. 2549
- 2551 )
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
1. บทนำ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่ได้รับการยอมรับในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย
อันเนื่องมาจากศักยภาพด้านการเรียนการสอน การวิจัยและอื่นๆที่โดดเด่น เช่น
การเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเครือข่ายไร้สายที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และมีผู้สนใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาเป็นอันดับหนึ่งของประเทศติดต่อกัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อเสียงในการปฏิรูปมหาวิทยาลัยด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที
( ICT, Information and Communication Technology ) ทั้งในด้านการเรียนการสอน
การบริหารงาน การวิจัย ทั้งในระดับภายในประเทศและนานาชาติ
2. วิสัยทัศน์ (VISION)
มหาวิทยาลัยมีความมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยสำหรับคนรุ่นใหม่
ด้วยการเน้นให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนรู้ สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพ
มีความรู้คู่คุณธรรม เป็นมหาวิทยาลัยที่ทันสมัย มีศักยภาพพร้อมเป็น e-University เป็นมหาวิทยาลัยในด้านการวิจัยและเป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ
สร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม สร้างจุดเด่นและชี้นำแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแก่สังคม
และชุมชนเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ยั่งยืน
3. พันธกิจ ( MISSION )
3.1 วางแผนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งในด้านการเรียน การสอน การบริหารและการวิจัย
3.2 พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถด้านไอซีที
3.3 พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ เข้าใจใช้ประโยชน์จากไอซีที
มีคุณธรรม จริยธรรม พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมใหม่ ( e-Society
)
3.4 พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการเรียนรู้ การบริหารและการวิจัยให้มีประสิทธิภาพ
คุณภาพ โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือประกอบ และมุ่งเน้นให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ
3.5 พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย โดยเน้นให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3.6 ขยายโอกาสการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริการชุมชน
3.7 มุ่งมั่นพัฒนาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศและเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ
นำไปสู่ระบบบริการแบบ e-Service และบริการแบบเบ็ดเสร็จ ( one
stop service ) โดยมีเป้าหมายการก้าวสู่ e-University
3.8 สร้างเครือข่ายการศึกษาที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี (knowledge
networking)
4. ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอซีทีให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง
รวมถึงจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
วัตถุประสงค์วางแผนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในด้านการเรียน การสอน การบริหาร และ การวิจัย
เป้าหมาย
1. ศึกษาหาแนวทางและดำเนินการปรับปรุงคุณภาพ และขยายการ ใช้งาน
โดยให้ทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยมีระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ
มีความน่าเชื่อถือ มีเสถียรภาพในการทำงานและมีความมั่นคงในเรื่องข้อมูลข่าวสาร
2. ให้มีการเข้าถึงเครือข่ายโดยขยายอาณาเขตพื้นที่ของมหาวิทยาลัยให้เพิ่มขึ้นทุกปี
3. ให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถตอบสนองการเรียนการสอน การบริหาร
และการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความทันสมัย และเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน
เพื่อตอบสนองคนรุ่นใหม่
ตัวชี้วัด
1. เปิดให้บริการใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. เส้นทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ครอบคลุมไปถึงทุกคณะ
3. มีเครือข่ายทั้งแบบมีสายและไร้สายกระจายเพิ่มพื้นที่การให้บริการที่มากขึ้นกว่าเดิม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Technology
Oriented )
วัตถุประสงค์ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านไอซีที
เป้าหมาย
1. เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของบุคลากรให้สามารถใช้ไอซีที
เพื่อการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. สร้างสิ่งแวดล้อมทางด้านการทำงานให้มีรูปแบบการใช้งานอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
3. ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากไอซีที
ตัวชี้วัด
1. มีการอบรมบุคลากรด้าน ICT จำนวนไม่น้อยกว่า 4 หลักสูตร /
ปี
2. แผนการจัดสรรทรัพยากรด้านไอซีทีให้สอดคล้องกับการใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างบัณฑิตและสร้างคนที่มีคุณภาพทางวิชาการ
มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึกในการรับใช้สังคม
วัตถุประสงค์ พัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถ
เข้าใจใช้ประโยชน์จากไอซีที มีคุณธรรม จริยธรรม พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมใหม่
( e-Society)
เป้าหมาย
1. พัฒนาให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถใช้ไอซีทีเพื่อกระบวนการเรียนรู้
และสามารถแสวงหาความรู้ต่างๆได้
2. ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือทางไอซีทีในกระบวนการทำงานและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ให้นักศึกษามีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมคนรุ่นใหม่
4. ให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพและจริยธรรม
ในการใช้ไอซีที
ตัวชี้วัด
1. มีหลักสูตรบูรณาการสำหรับให้ความรู้ในด้านคุณธรรม จริยธรรมสำหรับการใช้
ICT
2. มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการในทุกคณะ
3. มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องจริยธรรมกับ ICT กับนักศึกษาอย่างน้อย
2 ครั้งตลอดหลักสูตร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงและพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเรียนการสอน
วัตถุประสงค์ พัฒนาระบบการศึกษา ระบบการเรียนรู้
ให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือประกอบ
เป้าหมาย
1. ดำเนินการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการศึกษา การบริหาร
เช่น e-Learning e-Library
2. ส่งเสริมและรณรงค์ให้มีการประยุกต์ใช้ไอซีทีในการเรียนรู้และการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น
โดยเป็นจัดเป็นนโยบายหลักของมหาวิทยาลัย
3. ปรับปรุงคุณภาพการใช้ไอซีทีเพื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัย
ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว
4. พัฒนาหลักสูตรด้านไอซีทีทั้งระดับบัณฑิต มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานสากล
ตัวชี้วัด
1. ขีดความสามารถของแต่ละระบบ ที่สร้างขึ้นและปรับปรุงตามความต้องการของผู้ใช้
2. สถิติการใช้งานในแต่ละระบบ
3. การวัดความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบ back
office และ e-Service ที่บูรณาการให้กว้างขวางครอบคลุมและปลอดภัย
วัตถุประสงค์ พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
โดยเน้นให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อมในการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย
1. ดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยหลายระบบ เช่น ระบบสารสนเทศนิสิต
ระบบสารสนเทศบุคลากร e-Meeting เป็นต้น
2. พัฒนาระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาระบบขึ้นใช้เอง
ทำให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ และ maintenance ได้เป็นอย่างดี ช่วยประหยัดงบประมาณ
และสร้างบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด
1. จำนวนระบบงานที่พัฒนาขึ้น
2. ขีดความสามารถของระบบ
3. ความนิยมในการใช้งาน
4. ความพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและชุมชน
โดยให้บริการส่งเสริมและเผยแพร่การใช้ไอซีทีแก่สังคม ชี้นำและให้ความรู้เทคโนโลยีใหม่
อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
วัตถุประสงค์ ขยายโอกาสการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อบริการชุมชน
เป้าหมาย
1. การเป็นต้นแบบในการประยุกต์ใช้ไอซีที
2. เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาระบบต่างๆแก่สังคม เพื่อขยายผลการประยุกต์ใช้งานในระบบที่มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบ
3. ศึกษาและพัฒนาระบบงานที่ทันสมัย คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติงาน
และมีมาตรฐาน
4. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน
ตัวชี้วัด
1. การประชาสัมพันธ์กระจายการเข้าถึงจากภายนอก
2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน 3 ครั้ง/ปี
4. ทำสัญญาความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน
5. จัดทำนิทรรศการ/ประชุมวิชาการด้าน ICT สำหรับบุคคลภายใน/ภายนอกมหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาไปสู่ e-Knowledge
วัตถุประสงค์ พัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อจัดเก็บความรู้สาขาต่างๆของมหาวิทยาลัย
พร้อมกับสร้างเครือข่ายของบุคลากรในสาขาวิชาชีพเดียวกัน ให้สามารถติดต่อกันได้ทั่วถึงทางอิเล็กทรอนิกส์
เป้าหมาย
1. พัฒนา Knowledge base เพื่อเก็บความรู้วิชาการด้านต่างๆ
2. พัฒนา Web based system สำหรับการสื่อสารระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาชีพเดียวกัน
3. ส่งเสริมให้มีการใช้ Knowledge base และ Web
based อย่างทั่วถึง
4. พัฒนาระบบ Video on demand สำหรับจัดเก็บข้อมูล
การนำเสนอผลงานทางวิชาการที่มีการดำเนินงานในมหาวิทยาลัย สำหรับเผยแพร่ให้ชุมชนของมหาวิทยาลัย
5. ให้มีหน่วยงานรับผิดชอบดูแลการส่งเสริมความรู้และเครือข่าย
6. ให้มีการจัดทำ Knowledge mapping ของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย
ตัวชี้วัด
1. ความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งาน
2. จำนวนสมาชิก
3. มีระบบสำหรับจัดเก็บ Knowledge base
ยุทธศาสตร์ที่ 8 พัฒนาระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยให้มีความมั่นคงและปลอดภัยสูง
วัตถุประสงค์ ส่งเสริมพัฒนาและปรับปรุงระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยให้มีความมั่นคงปลอดภัย
และมีความเชื่อถือได้สูง ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เป้าหมาย
1. กำหนดนโยบายด้าน back up recovery
2. จัดตั้งระบบคอมพิวเตอร์สำรองสำหรับงานระบบสารสนเทศหลักที่มีผลกระทบโดยตรง
ต่อการทำงานภายในมหาวิทยาลัยเป็นระบบการเงิน
3. พัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพของการให้บริการเครือข่ายและระบบสารสนเทศ
ในด้านความมั่งคงและปลอดภัย
ตัวชี้วัด
1. ระบบสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ในปัจจัยของสถานการณ์ปกติ
2. การประกันคุณภาพของข้อมูล
3. มีระบบคอมพิวเตอร์สำรองสำหรับระบบคอมพิวเตอร์หลักของมหาวิทยาลัย
|