มิติด้าน IT งานที่ดำเนินการ ผล/สถานภาพการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน
1. e-Academic e-Learning ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์นำระบบสนับสนุนการเรียนการสอน (Classroom Support) มาพัฒนาและอบรมให้แก่อาจารย์ผู้สอนได้ใช้งาน ทั้งวิทยาเขตบางเขนและกำแพงแสน
e-Courseware สร้าง e-Courseware ภาษาอังกฤษเพื่อใช้ร่วมกันทั้ง 4 วิทยาเขต ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าสามารถใช้งานได้ในภาคปลายปีการศึกษา 2546 นี้
การเรียนการสอนทางไกลด้วย
ระบบ Tele conference
ประชุมชี้แจงและสนับสนุนให้ทุกวิทยาเขตมีการใช้ระบบ Tele conference เพื่อช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล
เพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ในห้อง Tele conference
เพิ่ม Bandwidth ไปต่างประเทศ จาก 4 Mbits เป็น 16 Mbits
e-Student เตรียมแผน และ รูปแบบ การดำเนินการเพื่อให้นิสิต มก. ทุกคนมีมาตราฐานและความรู้ด้าน IT ให้สามารถแข่งขันได้ ด้วยการปรับปรุงสถานที่ จัดหาอุปกรณ์ด้าน Computer จัดการอบรม การให้ความรู้ และสร้างบรรยากาศด้าน IT พร้อมทั้งจัดสอบเพื่อให้นิสิตได้รับ IT Certificate ก่อนจบการศึกษา
e-Teacher เตรียมแผน และ รูปแบบ การดำเนินการเพื่อให้ อาจารย์ สามารถใช้คอมพิวเตอร์ รวมทั้งสร้างสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ด้วยการ อบรม ให้ความรู้ และช่วยสนับสนุนด้านเครื่องมือ ต่างๆ ตามความต้องการใช้งาน
e-Personal เตรียมแผนทั้งระยะสั้น และระยะยาวเพื่อจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย ทุกระดับ ตั้งแต่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่งานบริหารและธุรการ เจ้าหน้าที่เทคนิค และนักวิจัย
โดยได้เริ่มโครงการฝึกอบรมบุคลากรให้ได้กว่า 2000 คน ภายในหนึ่งปี
โรงเรียน ICT ต้นแบบ ร่วมมือและดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อจัดรูปแบบและสนับสนุนให้เกิดโรงเรียนต้นแบบไอซีที โดยเป็นพี่เลี้ยงดำเนินการโรงเรียนต้นแบบ 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดไตรมิตรวิหาร โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ โรงเรียนประถมฐานบินกำแพงแสน และโรงเรียนผไทอุดมศึกษา
มิติด้าน IT งานที่ดำเนินการ ผล/สถานภาพการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน
2. e-Mis e-Meeting - สนับสนุนให้ผู้บริหารใช้ระบบ e-Meeting
- พัฒนาและปรับปรุงระบบ e-Meeting ให้ใช้ได้ง่ายตรงความต้องการผู้ใช้
- อบรมการใช้ระบบเพื่อให้ผู้บริหารคุ้นเคย
e-Office - พัฒนาระบบ e-Office เพื่อใช้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย
- ทดลองใช้ระบบกับหน่วยงานต้นแบบ 6 หน่วยงานมาตั้งแต่ 17 มี.ค 46
- ปรับปรุงระบบเพื่อพร้อมใช้งานจริงโดยตั้งเป้าหมายไว้ในเดือน ก.ค. 46
- สร้างระบบการสอบทานข้อมูล เพื่อ ตรวจสอบโครงสร้าง และรายชื่อบุคลากรทุกคนในหน่วยงานให้ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันที่สุด กำหนดให้เสร็จสิ้น ภายในวันที่ 20 มิ.ย.46 โดยได้อบรมให้ตัวแทนทุกหน่วยงานรับทราบวิธีการการสอบทานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 46
- ให้บุคลากรทุกคน มี e-Mail Address ของ Nontri โดยอัตโนมัติ
ระบบบัญชี 3 มิติ ตั้งคณะทำงาน 3 ชุด เพื่อศึกษา ออกแบบ และดำเนินการ ระบบบัญชี 3 มิติ แบบ online โดยมีเป้าหมายให้สามารถใช้งานได้ภายใน 2 ปี ได้เริ่มดำเนินการโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากทบวงมหาวิทยาลัย
จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุน การใช้งานบริหาร ในอาคารสารนิเทศ 50 ปี - สำรวจความต้องการและปริมาณ Computer ให้เพียงพอใช้งานในอาคาร 50 ปี
- จัดทำสรุปและจัดหา Computer เพื่อสนับสนุนงานบริหารสำหรับกองต่างๆ
จัดหา Computer เพื่อสนับสนุนงานฝึกอบรมบุคลากร - จัดดำเนินการเพื่อรองรับการฝึกอบรมบุคลากรมหาวิทยาลัย
มิติด้าน IT งานที่ดำเนินการ ผล/สถานภาพการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน
3. e-Research ฐานข้อมูลงานวิจัย online - จัดทำระบบ ฐานข้อมูลงานวิจัย online ที่ http://pindex.ku.ac.th เพื่อให้ผู้วิจัยทั้งอาจารย์และนิสิต ได้เก็บรายละเอียดงานวิจัยและเผยแพร่บน Homepage ของมหาวิทยาลัยขณะนี้มีจำนวน ประมาณ 500 เรื่อง
- ประชาสัมพันธ์ และ แจ้งแก่คณะต่างๆ เมื่อทีม IT ไปเยี่ยมชม ให้เห็นถึงความสำคัญ และร่วมมือ กันบันทึกข้อมูลลงระบบ ฐานข้อมูลงานวิจัย online
จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงที่นำมาทดแทนเครื่องพิรุณมีชื่อว่า เมฆา - MAEKA ( Massive Adaptable Environment for Kasetsart Application) เมฆา - MAEKA เป็นเครื่องที่ได้รับการสนับสนุนจากเอเอ็มดี ด้วยเทคโนโลยี Opteron 64 บิต จำนวน 32 โปรเซสเซอร์ เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยจิกะบิตอีเทอร์เน็ต และมีระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ที่ขยายขนาดได้ เมฆา (maeka.ku.ac.th) เป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูงเชิงการคำนวณสูงที่สุดในประเทศไทย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นเครื่องบริการแทนเครื่องพิรุณที่ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 โดยเน้นสำหรับการเป็น super internet server และสนับสนุนงานวิจัยและการศึกษาแก่นิสิต ตั้งแต่ปริญญาตรี โท และเอก ตลอดจนงานวิจัยต่าง ๆ จากกลุ่มวิจัยของมหาวิทยาลัย

มิติด้าน IT งานที่ดำเนินการ ผล/สถานภาพการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน
4. e-Service Wireless lan Network (KUWIN) - สำรวจและจัดหา แอกเซสพอยต์ เพื่อให้นิสิต อาจารย์ และบุคลากร สามารถ access เข้าสู่ Network ได้ตลอดเวลา ทุกสถานที่
- เพิ่มจุดติดตั้ง แอกเซสพอยต์ ทุกคณะ และ สถานที่ที่เป็นที่ให้บริการส่วนกลางอย่างน้อย 1 จุด รวมทั้งสิ้นในวิทยาเขตบางเขนขณะนี้จะมีกว่า 100 จุด
เพิ่ม Bandwidth ไปต่างประเทศ เพิ่ม Bandwidth ไปต่างประเทศ จาก 4 Mbits เป็น 16 Mbits

Personal Profile หลังจากสำรวจ และ สอบทานโครงสร้างหน่วยงาน และ บุคลากรทุกคนให้ถูกต้อง รวมทั้งเมื่อบุคลากรทุกคนมี e-Mail Address แล้ว
- จะจัดทำระบบการเก็บประวัติส่วนตัวแบบอัตโนมัติเพื่อเป็น Profile ส่วนบุคคลที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด
- จะทำให้มีนามานุกรมของมหาวิทยาลัยแบบ online ที่ถูกต้องและ Update อยู่ตลอดเวลาด้วยเจ้าของข้อมูล
e-Form กำลังรวบรวมและแยกแบบฟอร์มมาตราฐานที่ใช้ในมหาวิทยาลัย เพื่อจัดทำแบบฟอร์มมาตราฐานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย และเป็นการรองรับระบบ e-Signature ในอนาคต
e-Service ระบบ online การให้บริการนิสิต และการให้ข้อมูลการลงทะเบียน การรายงานผลต่างๆ
มิติด้าน IT งานที่ดำเนินการ ผล/สถานภาพการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน
5. e-Government เตรียมพร้อมทุกระบบเพื่อให้สามารถเชื่อมโยง กับทุกหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยได้อย่างสมบูรณ์ในอนาคต - จัดทำระบบ ฐานข้อมูลงานวิจัย online ที่ http://pindex.ku.ac.th เพื่อให้ผู้วิจัยทั้งอาจารย์และนิสิต ได้เก็บรายละเอียดงานวิจัยและเผยแพร่บน Homepage ของมหาวิทยาลัยขณะนี้มีจำนวน ประมาณ 500 เรื่อง
- ประชาสัมพันธ์ และ แจ้งแก่คณะต่างๆ เมื่อทีม IT ไปเยี่ยมชม ให้เห็นถึงความสำคัญ และร่วมมือ กันบันทึกข้อมูลลงระบบ ฐานข้อมูลงานวิจัย online
การร่วมมือกับ UniNet และ Nectec ด้านการเชื่อมโยง

ดำเนินการวางแผนวางโครงข่ายร่วมกับทบวงเพื่อเชื่อมโยงไปยังวิทยาเขตต่างๆ และวางโครงข่ายสำรอง

ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการพัฒนาโรงเรียนต้นแบบ ICT ดำเนินการวางต้นแบบให้กับโรงเรียน 4 แห่งเพื่อเป็นต้นแบบการใช้ ICT ในโรงเรียน และเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์